Transparent Sexy Pink Heart

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติ

ผัดไทยไชยา หรือเดิมเรียกว่า ผัดหมี่ เป็น ที่นิยมและรู้จักแพร่หลายมากว่า 100 ปีแล้ว นับเป็นอาหารพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันมีการนำน้ำผัดไทยไชยาจากเมืองไชยาไปทำการปรุงเป็นผัดไทยไชยาใน จังหวัดใกล้เคียง เช่น นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง สงขลา ซึ่งก็ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลาย







 ผัดไทยไชยามีความแตกต่างจากผัดไทยทั่วไปคือ ผัดไทยไชยาจะมีเครื่องปรุงที่เรียกว่า น้ำผัดไทยไชยา โดยเวลารับประทานต้องนำเส้นหมี่มาผัดกับน้ำผัดไทยไชยาจนแห้งเหมาะกับการรับ ประทาน นิยมรับประทานขณะร้อนกับผักชนิดต่างๆ เช่น ถั่วงอก แตงกวา หัวปลี กุยช่าย น้ำผัดไทยไชยาจะมีส่วนผสมของเครื่องเทศหลายชนิด เช่น พริกแห้ง หอมแดง กะปิ กะทิ เกลือ น้ำตาล และมะขามเปียก นำมาเคี่ยวรวมกัน

     ปัจจุบันการรับประทานผัดไทยไชยาที่อำเภอไชยา จะเป็นอาหารที่นิยมเลี้ยงในงานศพเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีวัฒนธรรมเรื่องการเลี้ยงอาหารแก่แขกที่มาร่วมงานโดยจะทำอาหาร หลายชนิดเอาไว้ และผัดไทยก็จะเป็นอาหารจานเด่นชนิดหนึ่ง จากการสำรวจในตลาดทั่วไปในอำเภอไชยาพบว่า มีร้านที่จำหน่ายผัดไทยไชยาน้อยมาก และเป็นการขายในตลาดสดในช่วงเช้า โดยจะขายในลักษณะห่อเป็นใบตองและแยกผักที่ใช้รับประทานรวมไว้ พบมีขาย 2 ร้าน เป็นร้านเล็ก ๆ ขายอยู่ในตลาดสด สามารถซื้อได้ตั้งแต่ราคา ห่อละ 5 บาท 10 บาท หรือตามต้องการ

ที่มา : http://www.gis-food.sru.ac.th/thai.php

กรรมวิธีการผลิต


           ใน การผลิตผัดไทยไชยานั้นมีวัตถุดิบที่สำคัญอยู่หลายตัวเช่น เส้นหมี่ เครื่องแกงผัดไทย กะทิ น้ำตาลปี๊บ น้ำมะขาม หัวหอม และกะปิ ซึ่งต้องมีการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี เพื่อที่จะได้ผัดไทยไชยาที่อร่อยและมีคุณภาพ
           ส่วนประกอบที่สำคัญของผัดไทยไชยานอกจากที่กล่าวมาคือ น้ำผัดไทยไชยา ซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตดังนี้ (สัมภาษณ์คุณพวงศรี ทิพย์ป่าเว คุณวิญญา ปิ่นแก้ว และคุณวาสนา เชื้อพราหมณ์ )
          1) การเตรียมหัวกะทิ โดยนำมะพร้าวที่ขูดเรียบร้อยแล้วนำมาคั้นด้วยเครื่องคั้นน้ำกะทิ หรือ คั้นด้วยมือ นำหัวกะทิไปตั้งไฟให้เดือดด้วยไฟปานกลาง (หางกะทิค่อยใส่ตอนหลัง)
          2) นำเครื่องแกงใส่ลงไป เคี่ยวให้เข้ากัน
          3) เติมหอมแดงหั่นละเอียดลงไป ใส่น้ำตาล กะปิ และเกลือ
          4) เติมน้ำมะขามเปียกลงไป คนให้เข้ากัน
          5) นำหางกะทิ ค่อย ๆ เติมลงไปจนหมด เคี่ยวประมาณ 40 นาที ชิมรสตามชอบ ให้มีรสหวาน เปรี้ยว มัน กลมกล่อมพอดี
          6) นำน้ำผัดไทยที่เตรียมไว้ตักใส่กระทะผัดใส่เส้นหมี่ในอัตราส่วน 1 : 1.3
          7) ผัดจนแห้งพอดี ตักใส่จานรับประทานกับผักสด เช่น กุยช่าย ถั่วงอก หัวปลี แตงกวา ถั่วฝักยาว จากขั้นตอนดังกล่าว สรุปเป็นกระบวนการได้ดังนี้



1.การเตรียมน้ำผัดไทย
2.เคี่ยวกะทิพอเดือด
3.เติมเครื่องแกงผัดไทยไชยา
4.ปรุงรสด้วย น้ำตาล กะปิ เกลือ น้ำมะขาม
5เติมหอมแดงที่หั่นเอาไว้
6.เคี่ยวด้วยไฟปานกลาง
7.เติมหางกะทิที่เหลือ

8.เคี่ยวให้เข้มข้นพอเหมาะ


กรรมวิธีการผัด



   1.เคี่ยวกะทิพอเดือด  

    2.เติมเครื่องแกงผัดไทไชยา



             
3.ปรุงรสด้วย น้ำตาล กะปิ เกลือ น้ำมะขาม

5.เคี่ยวด้วยไฟปานกลาง


  
                      6.เติมน้ำหางกะทิ                                    7.เคี่ยวให้เข็มข้นพอเหมาะ
  
                   8.น้ำผัดไทยไชยา                                       9.นำมาผัดกับเส้นหมี่สัดส่วน 1:1:3
  
                        10.ผัดจนแห้งพอดี                                   11.นี่และค่ะผัดไทยไชยา



สถานที่จำหน่าย

         สถานที่จำหน่ายผัดไทยไชยามีไม่มากนัก จะเป็นการขายในตลาดสดของเทศบาลตำบลไชยา
ใน ช่วงเช้า โดยจะขายในลักษณะห่อเป็นใบตองและแยกผักที่ใช้รับประทานรวมไว้ พบมีขาย 2 ร้าน เป็นร้านเล็กๆ ขายอยู่ในตลาดสด สามารถซื้อได้ตั้งแต่ราคาห่อละ 5 บาท 10 บาท หรือตามต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมการบริโภคผัดไทยไชยาที่อำเภอไชยาจะเป็นอาหารที่ นิยมเลี้ยงในงานศพ

เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนอกจากที่อำเภอไชยาแล้ว ยังมีจำหน่ายที่ร้านค้าเล็กๆ ในตลาดโต้รุ่งในอำเภอเมือง

ส่วนน้ำผัดไทยไชยาบรรจุขวด จะมีจำหน่ายที่กลุ่มแม่บ้านตำบลป่าเว ซึ่งมีนางพวงศรี ทิพย์ป่าเว 

เป็นผู้นำกลุ่ม ถือว่าเป็นผู้ผลิตน้ำผัดไทยไชยาบรรจุขวดขึ้นมาเป็นเจ้าแรก และมีวางจำหน่ายทั่วไป



การเดินทาง


การเดินทาง




การเดินทาง




























ที่มา : http://www.gis-food.sru.ac.th/pdf/gotosurat.pdf